กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย
Division of Quality Development

          มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับการตรวจ ติดตามคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2556 จาก สกอ. ในวันจันทร์ที่ 15 - วันพุธที่ 17 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารสำนักงานอธิการบดี  โดยมี รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล (ประธาน) รศ.ดร.สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ รศ.ดร.ดนัย บุณยเกียรติ รศ.ดร.ปาริชาติ บัวเจริญ รศ.ดร.สิทธิโชค สุนทรโอภาส ผศ.ดร.คนึงนิจ ภู่พัฒน์วิบูลย์ และ ผศ.เสาวณี ใจรักษ์ (กรรมการ) นายเมธัส บรรเทิงสุข นายธีระพล บรรเทิงสุข และ นางวราภรณ์ ฟูกุล (เลขานุการ)

          ในการตรวจ ติดตามฯ ดังกล่าว จะมีการตรวจสอ SAR หลักฐานอ้างอิง ผ่านระบบ e-manage ของมหาวิทยาลัย และระบบ CHEQA online ของ สกอ. มีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย สภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูง อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง ชุมชน มีการเยี่ยมชมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การเรียนการสอน ห้องปฏิบัติการ เช่น คณะเทคโนโลยีการประมงฯ คณะสัตวศาสตร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสารสนเทศฯ สำนักฟาร์ม สำนักหอสมุด และอาคารเรียนรวม เป็นต้น

          ทั้งนี้ ผลการตรวจ ติดตามคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ปีการศึกษา 2556 มีดังต่อไปนี้
          องค์ประกอบที่ 1          ผลคะแนน          5.00 
          องค์ประกอบที่ 2          ผลคะแนน          3.93
          องค์ประกอบที่ 3          ผลคะแนน          5.00
          องค์ประกอบที่ 4          ผลคะแนน          3.65
          องค์ประกอบที่ 5          ผลคะแนน          5.00
          องค์ประกอบที่ 6          ผลคะแนน          5.00
          องค์ประกอบที่ 7          ผลคะแนน          4.62
          องค์ประกอบที่ 8          ผลคะแนน          5.00
          องค์ประกอบที่ 9          ผลคะแนน          4.00
          และมีค่าเฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ เท่ากับ   4.32

 

       

ปรับปรุงข้อมูล : 18/9/2557 9:45:21     ที่มา : กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1946

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

โครงการทบทวนผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (AUN-QA Review and Calibration for MJU Assessor)
วันศุกร์ที่25 เมษายน 2568 กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดโครงการทบทวนผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (AUN-QA Review and Calibration for MJU Assessor) ณ ห้องประชุม 2201-2 ชั้น 2 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจาก รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง เป็นประธานในพิธีเปิด และผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ กล่าวเปิด โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ อาจารย์สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ AUN-QA และมีการออนไลน์ ให้กับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ด้วย
29 เมษายน 2568     |      336
ม.แม่โจ้ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ครั้งที่ 441 ระดับอาเซียน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ครั้งที่ 441 (The 441st AUN-QA Programme Assessment at Maejo University) ระหว่างวันที่ 18- 20 มีนาคม 2568 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้กล่าวต้อนรับ AUN-QA Assessor Team จากนั้น Prof. Dr. Kiran Kaur (Lead Assessor) กล่าวเปิดการตรวจประเมิน โอกาสนี้มีผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารส่วนงาน และคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เข้าร่วมในพิธีเปิดการตรวจประเมินฯ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับหลักสูตรที่เข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN – QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 441 ได้แก่ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ โดยมี Prof.Dr. Kiran Kaur, Universiti Malaya, Malaysia : Lead Assessor , Prof. John Donnie A. Ramos, University of Santo Tomas, Philippines : Assessor และ Mr. Pichayuth Punchanuwat : AUN-QA Secretariat เป็นกรรมการผู้ตรวจประเมิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด การประเมินในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตอบสนองต่อความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในอาเซียน ทั้งนี้ การประเมินในครั้งนี้ นับเป็นการประเมิน AUN-QA ครั้งแรกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานสากล ในส่วนของข้อเสนอแนะและข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างระบบการจัดการศึกษาและเสริมความแข็งแกร่งให้กับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการศึกษาของอาเซียน
26 มีนาคม 2568     |      7923
โครงการเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพส่วนงานสนับสนุน กิจกรรม : ชี้แจงคู่มือหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพส่วนงานสนับสนุน กิจกรรม : ชี้แจงคู่มือหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ในวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสายน้ำผึ้ง ชั้น 1 สำนักหอสมุด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางที่จะใช้ดำเนินการประกันคุณภาพ ส่วนงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 และให้ส่วนงานสนับสนุนดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ เป็นผู้บรรยายถึงประเด็นในการปรับปรุงคู่มือหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน
10 มีนาคม 2568     |      373
ม.แม่โจ้ จัดอบรมเจาะลึก เกณฑ์ EdPEex เตรียมยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาองค์กร
วันที่ 5-6 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดโครงการเจาะลึกเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ : EdPEx Criteria Training ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง อุษณีย์ คำประกอบ รองอธิการบดี และผู้บริหารศูนย์ประเมินคุณภาพองค์กร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร ซึ่งมีผู้บริหาร คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี และบุคลากรที่รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เข้าร่วมโครงการ จำนวน 160 คน ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ : Education Criteria for Performance Excellence เป็นเกณฑ์การประกันคุณภาพ ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการปรับปรุงขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยให้มีคุณภาพอย่างก้าวกระโดด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้น มีความทันสมัย และรองรับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการอบรมในครั้งนี้ จึงเป็นสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ เจตนารมณ์ และแนวปฏิบัติตามเกณฑ์ EdPEx ในรายละเอียดแต่ละ Criteria เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้หลักการของเกณฑ์ ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการดำเนินงานขององค์กรได้ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานตามพันธกิจหลักและการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศ ตลอดจนยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดต่อไป
7 มีนาคม 2568     |      304