กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย
Division of Quality Development

คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายใน  ประจำปี 2557 ของสำนักงานอธิการบดี ในระหว่างวันที่ 22 – 23  ธันวาคม  พ.ศ. 2557

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัย  บุณยเกียรติ                                  ประธานกรรมการ

2. รองศาสตราจารย์อาคม  กาญจนประโชติ                                 กรรมการ

3. รองศาสตราจารย์จักรภพ  วงศ์ละคร                                       กรรมการ 

4. นายทรงเกียรติ  ปานพันธ์โพธิ์                                              เลขานุการ

โดยในรอบประเมินนี้ สำนักงานอธิการบดี มีพัฒนาการที่เด่นชัดในส่วนของการลดรายจ่าย โดยมี
การจัดซื้อจัดจ้างแบบรวมศูนย์ โดยกองคลังเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อวัสดุทุกประเภทของหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี ในด้านการให้บริการแก่หน่วยงานอื่น ภาพที่สะท้อนจากผู้ใช้บริการดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม สำนักฯยังสามารถพัฒนาการให้บริการให้ดีกว่าเดิมได้ เพราะ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการยังไม่บรรลุเป้าหมาย นอกจากนั้นผลการประเมินความสุขของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี ยังไม่บรรลุเป้าหมายเช่นกัน ซึ่งทั้งความพึงพอใจของผู้รับบริการ และความสุขของบุคลากรเป็นตัวชี้วัด สองตัวที่จะทำให้สำนักฯ บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ได้

        ผลการประเมินประกันคุณภาพภายใน สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ 2557   จำนวน  16  ตัวบ่งชี้   ได้ผลประเมินรวมในระดับ "ดีมาก" (ค่าเฉลี่ย 4.66) 

1.   กระบวนการพัฒนาแผน   ผลประเมิน 5 คะแนน

2.   ระบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน    ผลประเมิน 4 คะแนน

3.   ภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงาน     ผลประเมิน  5  คะแนน

4.   การพัฒนาหน่วยงานสู่องค์การเรียนรู้     ผลประเมิน  5  คะแนน

5.   ระบบบริหารความเสี่ยง     ผลประเมิน  5  คะแนน

6.   ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ      ผลประเมิน  4  คะแนน

7.   ผลการประเมินการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำสำนัก      ผลประเมิน  3.97 คะแนน

8. ผลประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของหน่วยงาน   ผลประเมิน  3.62  คะแนน

9.   ผลการประเมินบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ หน่วยงานต้นสังกัดที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์    ผลประเมิน  5  คะแนน

10.   ผลการประเมินบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานต้นสังกัดที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์   ผลประเมิน   5  คะแนน

11. ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา   ผลประเมิน   5  คะแนน

12.  ระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูลข่าวสาร     ผลประเมิน  5  คะแนน

13.  ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษา    ผลประเมิน  5  คะแนน

14.  ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม    ผลประเมิน  5  คะแนน

15.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ    ผลประเมิน  5  คะแนน

16.  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน    ผลประเมิน  4  คะแนน

ปรับปรุงข้อมูล : 23/12/2557 16:31:33     ที่มา : กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 767

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ AUN-QA Implement and GAP Analysis
วันที่ 28-29 มีนาคม 2567 กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ AUN-QA Implement and GAP Analysis เพื่อเตรียมพร้อมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสากล ตามเกณฑ์ AUN-QA โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์จารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รก.ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ชุติมาสกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้และจัดกิจกรรม work shop ซึ่งมีผู้บริหารคณะ/วิทยาลัย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 140 คน เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิตติ์ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์(ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รก.ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ AUN-QA ซึ่งเป็นระบบการรับรองคุณภาพและมาตรฐานระดับหลักสูตร เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศใน ระดับสากล เพื่อให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Expected Learning Outcomes) ไปสู่ผลลัพธ์ (Outcome-based Education) โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered) การอบรมในครั้งนี้จึงเป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจ้ในเกณฑ์ AUN-QA นำกรอบแนวคิดของเกณฑ์ AUN-QA V.4 ไปพัฒนาศักยภาพของหลักสูตร ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ประเด็นสอดคล้องกันระหว่าง PLOs โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาเรียน กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล อีกทั้งยังเป็นการทบทวนแนวทางการนำเสนอ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง ตามแนวทางของ AUN-QA ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญหลักที่จะผลักดันการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้สามารถยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากลและก้าวสู่ความเป็นนานาชาติได้”
29 เมษายน 2567     |      21
โครงการทบทวนผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (AUN-QA Review and Calibration for MJU Assessor's)
กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการทบทวนผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (AUN-QA Review and Calibration for MJU Assessor's) ขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นการอรบรมแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom ซึ่งมีผู้ประเมินระดับหลักสูตร สนใจเข้าร่วมโครงการ 66 คน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ความสามารถด้านการประกันคุณภาพเป็นอย่างดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัตชัย เอื้ออนันต์สันต์ จากภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ประเมินหลักสูตร AUN-QA Assessor Lead Assessor ระดับอาเซียน ASEAN University Network-Quality Assurance AUN-QA
29 เมษายน 2567     |      42
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) : สมศ.
วันที่ 3 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) : สมศ. โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอผลดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแก่คณะกรรมการฯ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) ประธานกรรมการ, รองศาสตราจารย์ ดร.ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ (มหาวิทยาลัยนเรศวร) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสุวรรณ นฤนาทวงศ์สกุล (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) กรรมการ และรองศาสตราจารย์ ดร.พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่) กรรมการและเลขานุการ ร่วมการประเมินฯ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) : สมศ. เป็นองค์การมหาชนที่ให้บริการด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับ เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด รวมทั้งมีจุดอ่อนหรือปัญหาในเรื่องใดบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและการดำเนินงานระยะต่อไปบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้ารับการประเมินทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการตามพันธกิจที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้านคุณภาพบัณฑิต (ตรี โท เอก) ด้านคุณภาพงานวิจัย ผลของการบริการวิชาการ และผลของการประกันคุณภาพภายใน เป็นการนำเสนอผลด้วยวาจา โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาจากทาง สมศ.อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะนำเสนอให้ทราบอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป
10 เมษายน 2567     |      60